วันพุธที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2556

Punctuation Marks


Punctuation Marks (เครื่องหมายวรรคตอนในภาษาอังกฤษ)

Punctuation Marks หรือ เครื่องหมายวรรคตอน เป็นองค์ประกอบที่สำคัญมากในการเขียนภาษาอังกฤษ เนื่องจากในทุกประโยคภาษาอังกฤษนั้นประกอบด้วย Punctuation Marks ทั้งสิ้น ซึ่งเราสามารถจำแนก Punctuation Marks ได้ดังนี้
 
1. Period / Full stop ( . ) หรือ เครื่องหมายมหัพภาค-ใช้เมื่อจบประโยคในประโยคบอกเล่าหรือประโยคคำสั่ง
-ใช้หลังอักษรย่อต่างๆหรือคำย่อ เช่น Dr.(Doctor), Mr.(Mister) และอื่นๆ

2. Comma ( , ) หรือ เครื่องหมายจุลภาค/เครื่องหมายลูกน้ำ)
- ใช้คั่นเพื่อแยกคำนามซ้อน เช่น Thailand, a country in Asia, is famous for its beautiful temples.
- ใช้แยกระหว่างคำที่อยู่ในกลุ่มเดียวกัน เช่น I want a car, a motorcycle, and a bicycle.
- ใช้แยกคำคุณศัพท์ที่บอกสี เช่น a blue, yellow bicycle
- ใช้แยกคำคุณศัพท์ที่ตามหลังคำนาม เช่น My girlfriend is slim, tall, and beautiful.
- คั่นข้างหน้าหรือข้างหลังชื่อ เช่น
Christina, where have you been?
What would you like to eat, Lita?
- คั่นประโยคที่ตามหลัง Yes, No และ Well ที่ขึ้นต้นประโยค เช่น
Are you Thai? Yes, I am.
Well, I'm not sure if I can do that.
- ใช้เพื่อแยกข้อความในประโยคคำพูด เช่น He said, "They are happy."
- คั่นระหว่างปีที่ตามหลังเดือน, ถนนกับเมือง, เมืองกับประเทศ เช่น
Today is May 4th, 2008.Tang lives at 76 Satorn Road, Bangkok.

3. Semi-colon ( ; ) หรือ เครื่องหมายอัฒภาค
- ใช้คั่นประโยคที่มีเครื่องหมาย comma คั่นอยู่แล้ว เช่น Hello, Nittaya; Please come here.
- ใช้ทำหน้าเพื่อเชื่อมประโยคสองประโยคที่มีเนื้อหาเกี่ยวพันกันวางไว้หน้าadverbs ได้แก่
therefore (ดังนั้น) besides (นอกจากนี้) เป็นต้น เช่น
Canada is very cold; therefore people must wear heavy coats in the winter.

4. Colon ( : ) หรือ เครื่องหมายมหัพภาคคู่/เครื่องหมายทวิภาค
- ใช้ colon ก่อนการประโยคอธิบาย เช่น He decided to buy a car: he had to travel to the remote area.
- ใช้แจ้งรายการ ซึ่งนิยมใช้หลังคำเหล่านี้ the following หรือ as follows เป็นต้น เช่น We require the following for our camping trip: tent, bags, and boots.

5. Exclamation Mark ( ! ) หรือ เครื่องหมายอัศเจรีย์
ใช้หลังคำอุทานหรือประโยคอุทาน เช่นOh! you are so beautiful. Watch out! Go away! 
 
6. Apostrophe ( ' ) หรือ เครื่องหมายวรรคตอน
- ใช้แสดงความเป็นเจ้าของของคำนามทั้งนามเอกพจน์และนามพหูพจน์ เช่น The doctor's car, The men's club, Somkiet's dog
- ใช้แสดงความเป็นเจ้าของของคำนามพหูพจน์ที่เติม s หรือชื่อเฉพาะที่มี s เช่น The girls' books, Charles' school
- ใช้สำหรับย่อคำ เช่น can't (can not), it's (it is), I'd rather (I would rather) 
7. Question Mark ( ? ) หรือ เครื่องหมายปรัศนี
ใช้กับประโยคคำถาม เช่น Is that food hot?
 
8. Quotation Marks ( " " ) หรือ เครื่องหมายอัญประกาศ
ใช้เขียนคร่อมข้อความที่เป็นประโยคคำพูด เช่น
He said, "I am going home." "I can help you move," Narong volunteered.
 
9. Hyphen ( - ) หรือ เครื่องหมายยติภังค์
ใช้เพื่อเชื่อมคำสองคำให้เป็นคำเดียวกัน เช่น ex-husband, anti-American two-day holiday 
 
10. Dash ( -- ) หรือ เครื่องหมายเส้นประ
ใช้เพื่อเน้นข้อความที่แทรกเข้ามาเพื่ออธิบายหรือใช้คั่นคำละไว้ในฐานที่เข้าใจหรือเปลี่ยนใหม่ เช่น
I got lost, forgot my bag, and missed my plane-- it was a terrible trip.
If I had a lot of money, I would --Oh, what am I thinking? I will never be rich.

11. Oblique / Slash ( / ) หรือ เส้นแบ่ง
ใช้แทรกระหว่างประโยคเพื่อแทนคำว่า หรือ เช่น
Please insert your card/cash into the machine.

Direct & Indirect Speech


Direct & Indirect Speech
        การนำคำพูดของคนอื่น ๆ ไปบอกเล่าใครฟังมีวิธีพูดได้ 2 วิธีคือ
1. ยกคำพูดเดิมไปบอกทั้งหมด (Direct Speech)
      Nicole says, "I am going to the movie."
     Judy says to me,  "get out"
2. ดัดแปลงคำพูดเดิมเป็นคำพูดของผู้เล่าเอง (Indirect Speech)
      Nicole says that she is going to the movies.
     Judy tells me to get out.
การเปลี่ยนประโยคคำพูดจาก  Direct Speech  หรือ  Indirect Speech   มี 3 ประเภท
1.  Indirect Speech     -       Statement
2.  Indirect Speech     -       Questions
3.  Indirect Speech     -       Command or Request
การเปลี่ยนประโยคคำพูดเป็น   Indirect Speech   ยึดหลัก 4 ข้อดังนี้
1.  เปลี่ยนแปลง Tense
2.  เปลี่ยนแปลง Personal pronoun
3.  เปลี่ยนแปลง Nearness เป็น  Distance
4.  เปลี่ยนแปลง Reporting Verb  (กริยาในประโยคนำ)
I.    Indirect Speech   -   Statements
         กฏการเปลี่ยน  Direct Statement  เป็น  Indirect Statement
1. เอาเครื่องหมายคำพูดออก (Question mark)
2. เปลี่ยน   says                  say that        ,   said             said that
                 say  to               tell                 ,   said to         told
3. เปลี่ยนสรรพนามให้เหมาะสม
4. เปลี่ยนคำต่อไปนี้  จากใกล้   ไกล
Direct Speech 
 Indirect Speech
this
these
now
here
ago
tonight
today
last night
yesterday
last month
last week
next week
tomorrow
that
those
then, at that time
there
before
that night
that day
the night before
the day before, the previous day
the month before
the week before
the following week
the following day, the next day
 5. เข้า  Verb  ใน  Direct Statement  เป็น  Present  ไม่ต้องเปลี่ยนแปลง  Tense  เมื่อทำเป็น  Indirect Statement  แต่ถ้า  Verb ใน  D.S.  เป็น  Present  ต้องเปลี่ยนแปลง  Tense ใน  Indirect Statement เป็น   more past  เช่น

                Present Simple                    Past Simple    
                Present Continuous            Past Continuous
                Present Perfect                    Past Perfect
                Past Continuous                  Past Perfect Continuous
                Future Form                          Future in the Past Forms

Example  :    
1.  He says , "I can swim."
       He says that he can swim
2.  He says to me, "I love you."
      He tells me that he loves me.
3.  He said , "I love you."
       He said that he love me.
4.  She said to me, "I picked a rose yesterday."
       she told me that she had picked a rose the bay before.
5.  Bill said, "I am reading now."
       Bill said that he was reading then.

การใช้ Question Tags


Question Tag: กริยาวิเศษณ์บอกระดับ

Question Tags, Tag Questions หรือ Question Tails คือ รูปของประโยคคำถามย่อ (Mini question) ที่นำมาใส่ท้ายประโยคบอกเล่า เพื่อเป็นการทิ้งท้ายประโยคให้ผู้สนทนาอีกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงความเห็นต่อความคิดหรือประโยคนั้นๆ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้ว Question Tag จะนิยมใช้กันในภาษาพูด (Spoken language)มากกว่าภาษาเขียน (Written language)

โครงสร้างของ Question Tags

Statement (ประโยคหลัก)
Tags/Tails (ส่วนต่อท้าย หรือ หาง)
Positive Statement (+),
Negative Tag (-)?
Negative Statement (-),
Positive Tag (+)?
*หมายเหตุ Question Tags หากอยู่ในรูปปฏิเสธ (Negative Tag) จะต้องอยู่ในรูปย่อเท่านั้น เช่น aren’t (are not/am not), don’t (do not) shan’t (shall not), won’t (will not) และอื่นๆ

จุดประสงค์ของการใช้ Question Tags

เพื่อแสดงความมั่นใจ (confidence) หรือ ความไม่มั่นใจ (lack of confidence), ความสุภาพ (politeness), การเน้นย้ำ (emphasis), การประชดประชัน (irony) ซึ่งอาจมีความหมายคล้ายกับ “Am I right?” หรือ “Do you agree?” นั่นเอง
 
หลักการใช้ Question Tags

1. เมื่อประโยคขึ้นต้นเป็นประโยคบอกเล่า เราจะต้องใช้ Question Tags ในรูปปฏิเสธ (Negative Tag)
She loves shopping, doesn’t she?
They have a lot of friends, don’t they?
2. เมื่อประโยคขึ้นต้นเป็นประโยคปฏิเสธ เราจะต้องใช้ Question Tags ในรูปบอกเล่า (Positive Tag)
He doesn’t like to cook, does he?
We don’t want to go to school, do we?
 
3. เมื่อประโยคหลักมีกริยาแท้ (Main verb) เป็น Verb to have ให้ใช้ Verb to do มาสร้าง Question Tags
We have a lot of friends, don’t we?
She has a beautiful smile, doesn’t she?
* หาก have ในประโยคขึ้นต้น แปลว่า “มี” อาจจะใช้ Verb to do หรือ Verb to have มาสร้างเป็น Question Tags ก็ได้
 
4. เราสามารถนำ Auxiliary Verbs (กริยาช่วย) มาสร้าง Question Tags ได้ เช่น can, could, may , might, will, shall, ought to, should, V. to be , etc.

We should buy a house, shouldn’t we?
You ought to do your homework, oughtn’t you?
5. ประธานใน Question Tags ต้องเป็น I/You/We/They/He/She/It เท่านั้น
Somsak loves to go to the zoo, doesn’t he?
The kids are sleeping now, aren’t they?
ยกเว้น หากประธานเป็น “there” เราสามารถนำ “there” มาใช้เป็นประธานใน Question Tag ได้ เช่น
There are a lot of kids in your house, aren’t there?
 
6. คำว่า need (ต้องการ) และ dare (กล้าหาญ) สามารถใช้ Question Tags ได้โดยการใช้ Verb to do มาช่วย หรือ ใช้ need และ dare เลยก็ได้
They need help, don’t they?
You dare not taste that food, dare you?
They need help, needn’t they?
You dare not taste that food, do you?
 
7. เมื่อประโยคเป็นรูปแบบของคำสั่ง หรือ ขอร้อง ที่อยู่ในรูปของประโยคบอกเล่า (Positive Statement)
สามารถใช้ Question Tags ได้ทั้งในรูปบอกเล่า (Positive Tag) หรือ รูปปฏิเสธ (Negative Statement) โดยเรามักจะใช้ can, will และ would เข้ามาช่วยสร้างประโยคในส่วนของ Question Tags

Go to sleep, will you?
Stop laughing at me, won’t you?
Help me with this, can you?
8. หากประโยคขึ้นต้นด้วย Let's (Let us) เราจะใช้ Question Tags ในรูปของ “, shall we?” และหากประโยคขึ้นต้นเป็น Let + object+V.1 เราจะใช้ Question Tags ในรูปของ “, will you?” เช่น

Let’s go to the beach, shall we?
Let him go, will you?
9. หากประธานเป็น everyone, everybody, everything, no one, nobody, anybody, neither ให้เราใช้ theyในส่วนของ Question Tags

Everyone is smiling at you, aren’t they?
None of the students went to the school yesterday, did they?
 
10. หากประโยคประกอบด้วยคำที่มีความหมายเชิงปฏิเสธ (Negative meaning) เช่น seldom (ไม่ใคร่จะ), rarely (ไม่ใคร่จะ), scarcely (แทบจะไม่), hardly (เกือบไม่), barely (เกือบจะไม่) Question Tags จะต้องอยู่ในรูปของ Positive tags เท่านั้น

She scarcely seems to care, does she?
He rarely comes here, does he?
- I seldom got asleep, did I?
Few students can solve the problems, can they?
- They hardly spoke to anyone, did they?

11. หากประโยคเป็นประโยคซับซ้อน (complex) เรามักจะใช้ Verb ในประโยคหลัก (Main Clause) ใน Question Tags ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ขึ้นอยู่กับว่าเราต้องการเน้นที่จะบอกหรือพูดถึงสิ่งใด

If I did my homework, I wouldn’t be punishedwould I?
He said he would talk to her, didn’t he?
I think we should go nowshouldn’t we?
วิธีการตอบประโยค Question Tags

เรามักใช้ yes หรือ no เข้ามาช่วยในการตอบ แล้วตามด้วย Subject (ประธาน) และ Auxiliary Verbs (กริยาช่วย) เช่น
She is beautiful, isn’t she?
Yes, she is. / No, she isn’t.
 
They didn’t study for the exam, did they?
Yes, they did. / No, they didn’t.
 
การออกเสียง
เราสามารถเปลี่ยนความหมายของประโยค Question Tags ได้โดยการ ขึ้นเสียงสูง หรือ ลงเสียงต่ำ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้ว หากเรา…
 
ขึ้นเสียงที่ท้ายประโยค จะ เปรียบเสมือน เรากำลังตั้งคำถามกับผู้สนทนาอีกฝ่ายด้วยความไม่แน่ใจ หรือ ต้องการถามความเห็นที่แท้จริงของผู้สนทนาอีกฝ่าย
 
ลงเสียงต่ำที่ท้ายประโยค จะ เปรียบเสมือน เราต้องการให้ผู้สนทนาอีกฝ่ายนั้นเห็นด้วยกับสิ่งที่เราพูด